Skip to content

Welcome to our store

Lounge Lovers
Previous article
Now Reading:
โต๊ะกลางรับแขกเล็กเกินไป แก้ไขอย่างไรให้ห้องดูสวยสมดุล

โต๊ะกลางรับแขกเล็กเกินไป แก้ไขอย่างไรให้ห้องดูสวยสมดุล

โต๊ะกลางรับแขกเล็กเกินไป แก้ไขอย่างไรให้ห้องดูสวยสมดุล

บางคนอาจเคยประสบปัญหาว่าเวลาต้องย้ายบ้านหรือที่อยู่ใหม่ไปยังที่ที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าเดิม แล้ว โต๊ะกลางขนาดเล็ก ที่มีอยู่ดันเล็กเกินไปจนไม่เหมาะกับพื้นที่ หรือตกหลุมรักดีไซน์ของ โต๊ะกลางรับแขก ตัวนี้ตั้งแต่แรกเห็น แต่ขนาดของมันดันเล็กเกินไปจนไม่สมดุลกับโซฟาที่บ้าน ในบทความนี้เราเลยจะมาไขข้อสงสัยว่าโต๊ะกลางที่เหมาะกับบ้านควรมีขนาดเท่าไหร่ และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรหากโต๊ะกลางที่เรามีอยู่หรือเล็งไว้นั้นมีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งเทคนิคเหล่านี้สามารถใช้ได้กับโต๊ะกลางทุกรูปทรง ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะกลางวงกลม วงรี หรือสี่เหลี่ยมก็ตาม

กฎ 3 ข้อ ในการเลือก โต๊ะกลางรับแขก ให้พอดีกับพื้นที่

กฎพื้นฐานในการเลือกขนาดของ โต๊ะกลางรับแขก ให้พอเหมาะพอดีกับพื้นที่ห้อง และรับกับเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ อย่างโซฟาตัวหลัก มีด้วยกัน 3 ข้อ ดังนี้

ข้อที่ 1 - โต๊ะกลางควรมีขนาดอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความยาวโซฟา แต่ไม่ยาวเกินกว่า ⅔ ของโซฟา ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่พอดีที่สุด กล่าวคือเราสามารถใช้งานในการวางสิ่งของหรือหยิบแก้วน้ำได้สะดวก ในขณะเดียวกันก็ยังดูสบายตา ไม่น่าอึดอัดจนเกินไป

ข้อที่ 2 - ความสูงของโต๊ะกลางควรใกล้เคียงกับความสูงของเบาะที่นั่งของโซฟา โดยอาจสูงหรือเตี้ยกว่าได้ไม่เกิน 4 นิ้ว ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะแก่การใช้งาน และไม่บดบังทัศนียภาพเวลาที่มองเข้ามายังมุมรับแขกด้วย

ข้อที่ 3 - การวางโต๊ะกลางควรมีระยะห่างจากโซฟาประมาณ 16 - 18 นิ้ว เพื่อให้เรามีพื้นที่เพียงพอในการลุก-นั่ง หรือเดินรอบโต๊ะได้โดยไม่เฉี่ยวชน ดังนั้น การเลือกซื้อโต๊ะกลางจึงต้องเผื่อพื้นที่ในส่วนนี้ไว้ด้วย

ไอเดียแก้ปัญหา ถ้าโต๊ะกลางรับแขกเล็กเกินไป

หากสุดท้ายแล้วโต๊ะกลางที่บ้านก็ยังมีขนาดเล็กเกินไปอยู่ดี ไม่เป็นไปตามกฎ 3 ข้อที่กล่าวมาข้างบน เราก็มีไอเดียแก้ปัญหาที่จะช่วยให้มุมรับแขกดูสวนเนียนตายิ่งขึ้นมาฝาก

จับคู่กับโต๊ะอีกตัวที่มีดีไซน์แมทช์กัน

หนึ่งในเทคนิคแก้ปัญหาสุดคลาสสิค ก็คือการเพิ่มโต๊ะกลางอีกตัวที่มีดีไซน์แมทช์กันมาวางเข้าคู่กัน เช่น หากเรามี โต๊ะกลางวงกลม สีเข้มสักตัว ก็อาจเลือกโต๊ะหน้าตัดวงกลมเหมือนกัน ที่มีสีและลวดลายแบบเดียวกัน หรือแบบที่ถูกดีไซน์มาให้เข้าคู่กันอยู่แล้ว มาวางไว้ข้างๆ เพื่อเติมเต็มพื้นที่มุมรับแขกให้ดูครบสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โดยเราอาจเลือกโต๊ะตัวที่มีความสูงมากหรือน้อยกว่าตัวเดิมนิดหน่อย ทั้งนี้ก็เพื่อใช้ประโยชน์จากระดับความสูงที่ต่างกันในการสร้างมิติให้กับพื้นที่ ทำให้ห้องมีลูกเล่นน่าสนใจ และไม่ดูราบเรียบเกินไปจนไร้แรงดึงดูด

จับคู่กับโต๊ะอีกตัวที่มีดีไซน์แมทช์กัน

เพิ่มโต๊ะอีกตัวที่มีดีไซน์ไม่แมทช์กัน

แม้การใช้โต๊ะกลางสองตัวที่มีดีไซน์เข้าคู่กันตามข้อข้างบนจะเป็นทางเลือกที่เพลย์เซฟกว่า แต่ในทางตรงข้าม การเลือกโต๊ะกลางที่มีดีไซน์แตกต่างออกไปหรือไม่แมทช์กัน ก็ช่วยให้ห้องของเราดูน่าสนใจและมีเสน่ห์ขึ้นไปอีกแบบ แถมยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้เราได้เล่นสนุกไปกับการครีเอทมุมรับแขกสุดเจ๋งด้วย ตัวอย่างเช่น หากเรามี โต๊ะกลางขนาดเล็ก ที่มีดีไซน์แบบโมเดิร์นมินิมอล แต่ไม่อยากให้ห้องดูเรียบเกินไป ก็อาจใช้โต๊ะกลางอีกตัวที่มีดีไซน์หยาบๆ แบบงานคราฟท์ ตามสไตล์รัสติก มาวางจับคู่กันก็ได้ ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้ภาพรวมของพื้นที่ห้องมีความหลากหลาย มีสไตล์ที่ผสมผสานกันอย่างเป็นเอกลักษณ์ และไม่ยึดติดอยู่กับดีไซน์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว

เพิ่มโต๊ะอีกตัวที่มีดีไซน์ไม่แมทช์กัน

เพิ่มโต๊ะกลางที่เหมือนกันอีกตัว

อาจเป็นไอเดียที่ฟังดูแปลกสักหน่อย สำหรับการวาง โต๊ะกลางรับแขก ที่เหมือนกัน 2 ตัวไว้ในพื้นที่เดียวกัน แต่หากนั่นเป็นดีไซน์ที่เราชื่นชอบจริงๆ อีกทั้งไม่อยากให้โต๊ะตัวอื่นมากลบความโดดเด่นของดีไซน์ดังกล่าว ไอเดียนี้ก็อาจเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อที่ต้องระวังไว้สักหน่อย เพราะหากโต๊ะกลางของเรามีดีไซน์ที่ฉูดฉาดอยู่แล้ว การวางโต๊ะที่เหมือนกันอีกตัวก็อาจทำให้ภาพรวมของห้องดู ‘เยอะ’ เกินไปจนน่าอึดอัด รวมถึงอาจไปทำลายเอกลักษณ์ของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้น จนทำให้การตกแต่งดูไร้รสนิยมหรือดูไม่แพงได้ เทคนิคนี้จึงเหมาะกับโต๊ะกลางที่มีดีไซน์ค่อนข้างเรียบและไม่หวือหวามากนัก

เพิ่มโต๊ะกลางที่เหมือนกันอีกตัว

เพิ่มที่นั่งหลากหลายแบบ

การแก้ไขเรื่อง โต๊ะกลางขนาดเล็ก เกินไป ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเพิ่มจำนวนโต๊ะกลางเท่านั้น แต่การเพิ่มที่นั่งก็เป็นอีกไอเดียหนึ่ง โดยเราอาจเลือกเก้าอี้อาร์มแชร์ และเก้าอี้สตูลตัวเตี้ยที่มีดีไซน์ต่างๆ กันเข้ามาเสริมทัพโซฟาตัวหลัก เพื่อเป็นการเติมเต็มพื้นที่ไม่ให้ดูโหรงเหรง อีกทั้งยังใช้ประโยชน์ในการเป็นที่นั่งเสริมได้เวลามีแขกจำนวนมากด้วย ทั้งนี้ เราสามารถเลือกที่นั่งที่มีดีไซน์และสีสันต่างๆ มา mix & match กัน เพื่อสร้างมุมรับแขกสุดปังที่มีสไตล์ไม่ซ้ำใครได้

เพิ่มที่นั่งหลากหลายแบบ

เพิ่มโต๊ะบุผ้าแบบ upholstery

สำหรับใครที่คิดว่าการวางโต๊ะกลางมากกว่า 1 ตัวอาจดูเยอะเกินไป แถมให้ความรู้สึกที่เต็มแน่นจนน่าอึดอัด อาจลองเปิดใจให้กับโต๊ะกลางบุเบาะ/บุผ้า แบบ upholstery หรือ Ottoman ซึ่งจะให้บรรยากาศที่ดูซอฟท์ ดูน่ารักอบอุ่น และสบายตายิ่งกว่า แถมยังสามารถใช้เป็นที่นั่งเสริมในบางครั้งได้ โดยเราอาจเลือก upholstery ที่มีขนาดย่อมเยาลงมา เพื่อให้โต๊ะกลางของเรายังคงเป็นจุดเด่นของห้อง และเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ห้องแออัด หรือเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงเฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่นๆ

เพิ่มโต๊ะบุผ้าแบบ upholstery

วางไอเทมตกแต่งเพิ่มเติม

ไอเทมเติมเต็มพื้นที่โล่งๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นโต๊ะหรือเก้าอี้เสมอไป แต่อาจใช้สิ่งของอื่นๆ ที่มีขนาดและความสูงพอเหมาะมาแทนก็ได้ ตัวอย่างเช่น หมอนอิงใบใหญ่ กล่อง ตะกร้า หรือแท่นวางรูปทรงเก๋ๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มดีเทลให้กับห้องรับแขกที่อาจจะดูพื้นๆ ให้มีบรรยากาศสนุกสนาน ผ่อนคลาย และไม่เป็นทางการจนเกินไป

วางไอเทมตกแต่งเพิ่มเติม

ถึงตรงนี้หลายคนคงเห็นแล้วว่าการมี โต๊ะกลางขนาดเล็ก เกินไป ไม่ใช่อุปสรรคที่แก้ไขไม่ได้ เพียงแต่ต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ในการเลือก โต๊ะกลางรับแขก อีกตัว หรือไอเทมอื่นๆ มาเติมเต็มพื้นที่ว่างให้สมบูรณ์และสมดุลยิ่งขึ้น ซึ่งไอเดียที่เรายกมาก็สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทั้ง โต๊ะกลางวงกลม โต๊ะกลางสี่เหลี่ยม หรือรูปทรงอื่นใดที่มีอยู่ได้เลย

Cart

Close

Your cart is currently empty.

Start Shopping

Select options

Close