Architectural Lighting คือหนึ่งในแนวทางการออกแบบแสงสว่างที่เน้นการใช้งานตามหลักสถาปัตยกรรม โดยทั่วไปจะมีการวางแผนมาเป็นอย่างดีแล้วว่า จะติดตั้งหลอดไฟและเลือกใช้โคมไฟแบบไหนมาใช้งาน ติดตั้งเอาไว้จุดไหนให้เหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งกำเนิดแสง แม้ว่าในปัจจุบัน เราจะมีแสงไฟประดิษฐ์ที่มีให้เลือกหลากหลายประเภท ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมก็ตาม ทว่าการติดตั้งสำหรับบ้านแต่ละหลัง ก็ยังมีปัจจัยแวดล้อมมากมายที่แตกต่างกัน แถมยังแปรผันไปตามช่วงเวลาที่สัมพันธ์กับแสงธรรมชาติด้วย
ดังนั้นระหว่างแสงประดิษฐ์และแสงที่มาจากธรรมชาติ ล้วนกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์โดยทั่วกัน สถาปัตยกรรมสำคัญในการทำงานกับแสง จึงควรทำความเข้าใจกับหลักการใช้งานอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะมือใหม่ที่หันมาเริ่มแต่งบ้าน ซึ่งการเข้าใจแสงในทางสถาปัตยกรรมนั้น จะเป็นตัวช่วยให้คุณเข้าใจถึงความงดงามที่เกิดขึ้นได้มากกว่าการติดตั้งเพื่อเน้นประโยชน์ใช้สอยหลักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แสงจากโคมไฟกับความสัมพันธ์ในพื้นที่ว่าง
ความสวยงามของแสงไฟที่ส่องสว่างจากหลอดไฟ เมื่อมีความสัมพันธ์กับแนวทางการออกแบบทางสถาปัตยกรรมแล้ว เมื่อเกิดการสร้างใน "แนวราบ" ขึ้นมา แน่นอนว่าแสงจะส่งผลให้เกิดเงา แม้เงาเหล่านี้จะเป็นพื้นที่มืด มองเห็นได้ไม่ชัด แต่เรากลับสามารถนำไปสร้างสรรค์ปริมาตรทางสถาปัตยกรรมจนกลายเป็นความสวยงามที่มากกว่าแค่การให้แสงสว่าง พื้นที่ว่างรอบๆ ด้าน จะกลายเป็นตัวช่วยดึงจุดสนใจไปยังวัตถุที่กระทบแสง และเกิดเป็นเงามืด เช่น การติดตั้งไฟภายในสวน ส่องสว่างต้นไม้ใหญ่ จนเกิดเป็นเงาทึบที่มีรูปทรงอันเป็นเอกลักษณ์ สร้างสีสันให้รอบๆ บ้านดูมีชีวิตชีวาในยามค่ำคืน
การเลือกโคมไฟที่ใช่สำหรับพื้นที่ใช้งาน
เมื่อแสงที่สัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมต้องมีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้นการเลือกใช้โคมไฟประเภทต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอย พื้นที่ใช้งาน และกิจกรรมที่เน้นว่าเฉพาะงานหรือไม่ ดังนั้น พื้นที่แคบและพื้นที่กว้าง จึงมีการติดตั้งแสงที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบโคมไฟห้อยเพดานและโคมไฟติดผนังสำหรับพื้นที่ทางเดินขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่เกะกะ ทำให้เกิดมิติที่สวยงามรอบๆ ด้าน ไปพร้อมกับการให้แสงสว่างได้อย่างเหมาะสมมากกว่าการติดตั้งเอาไว้บนทางเท้า
การเชื่อมต่อระหว่างแสงไฟจากโคมไฟกับโครงสร้างภายในบ้าน
รูปแบบของแสงไฟแบบ Architectural Lighting จะเน้นการใช้งานที่เชื่อมสัมพันธ์กับทุกสัดส่วนในบ้านอย่างลงตัวมากที่สุด โดยมีลักษณะเป็นโคมไฟที่มีกรอบโครงสร้างปิดล้อมเป็นหลัก ซึ่งอาจจะปิดเพียงแค่บางส่วนหรือปิดทั้งหมดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการควบคุมทิศทางของแสงให้ได้ดั่งใจหรือไม่ ส่วนการเชื่อมโยงกับส่วนต่างๆ ภายในบ้าน ดังที่กล่าวไปข้างต้น ก็คือจะต้องวางแผนเอาไว้ก่อนลงมือทำ มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แน่ชัดอยู่แล้ว เช่น ประเภทของโคมไฟที่จะใช้งานหน้าโต๊ะเครื่องแป้ง หรือโคมไฟสำหรับติดตั้งเพิ่มแสงสว่างบริเวณโต๊ะอาหาร ไปจนถึงแสงไฟภายในห้องนอน ซึ่งแต่ละพื้นที่้ล้วนมีความกว้างยาว และสไตล์ที่ต่างกันออกไป ดังนั้นไฟเหล่านี้มักจะเน้นสร้างความสวยงามและตอบโจทย์ต่อการใช้งานไปด้วยกัน โดยมีการจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.กลุ่ม Wall Lighting - ก็คือโคมไฟที่ติดตั้งเอาไว้ตามผนังบ้าน มีชื่อแรกแยกย่อยต่างกันออกไปอีก อย่างเช่น Valance Lighting ตำแหน่งของไฟที่ติดตั้งเอาไว้เหนือหน้าต่าง หลอดไฟใช้เป็นแบบ Fluorescent ซึ่งเน้นให้แสงสว่างในแนวราบ เน้นประโยชน์สำหรับการสะท้อนขึ้นเพดาน หรือจะเป็นไฟแบบ Canopy Lighting ซึ่งจะเป็นรูปทรงแบบกล่อง ยื่นตัวออกมาจากผนัง ส่วนมากนิยมติดตั้งเอาไว้ภายในห้องน้ำ ขนาบข้างอ่างล้างหน้า หรือพื้นที่เสริมสวย เป็นต้น
2.กลุ่ม Ceiling - หรือเรียกอีกอย่างว่า Mounted หรือ Attached Fixtures เหล่าโคมไฟที่ติดตั้งเอาไว้บนฝ้าเพดาน หรือตอนบนสุดของผนังที่เชื่อมกับเพดาน เช่น Cornice Lighting, Soffit Lighting และ Luminous panels เป็นต้น การใช้งานไม่แตกต่างจากการติดตั้งกับผนังมากนัก เพียงแค่ทิศทางการให้แสงจะส่องสว่างมาจากด้านบนเป็นหลักเท่านั้น ขึ้นอยู่กับสไตล์ความชอบของผู้ใช้ และพื้นที่ว่าเหมาะสำหรับการติดตั้งหรือไม่
จะเห็นได้ว่าแสงไฟกับความสัมพันธ์ด้านสถาปัตยกรรม มีปัจจัยแยกย่อยที่หลากหลาย แน่นอนว่ามีความสัมพันธ์ที่เราไม่ได้กล่าวถึงอีกมากมายในการนำมาใช้งานตกแต่งในด้านนี้ สำหรับคนที่อยากสร้างสีสันให้บ้านแบบไม่พลาด อาจจะเลือกให้นักออกแบบเป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษา เพื่อการเลือกซื้อโคมไฟในแบบที่ตัวเองต้องการใช้งานได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ และให้ความงดงามชนิดที่คาดไม่ถึงตามมาได้อีกด้วย